ความเป็นมา สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย
|
|
นับตั้งแต่ พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 70 บัญญัติให้สหภาพแรงงานตั้งแต่ 10
|
สหภาพแรงงานขึ้นไปอาจรวมกันจัดตั้งสหพันธ์แรงงานได้ เพื่อปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างเพื่อส่งเสริมการศึกษา และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีในรัฐวิสาหกิจ
|
|
จนกระทั้ง เดือนธันวาคม พ.ศ.2548 สหภาพแรงงานจำนวน 17 แห่งได้จัดสัมมนา เรื่อง “ทิศทางจัดตั้งสหพันธ์
|
แรงงานรัฐวิสาหกิจ” เพื่อระดมสมองและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ณ บ้านอีต่อง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี และได้มีการจัดสัมมนาอีกสองครั้งในช่วงเวลาที่ต่อเนื่องกัน ณ คลังปิโตรเลียมภาคตะวันออก และโรงแรมจอมเทียนบีชรีสอร์ท จ.ชลบุรี อีกทั้งได้จัดให้มีการประชุมหารือกันทุกเดือน เป็นเวลา 8 เดือนติดต่อกัน จนในที่สุดคงเหลือสหภาพแรงงานที่มีแนวคิดและทิศทางเดียวกันจำนวน 10 แห่ง ร่วมกันจัดตั้ง “สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย” โดยยื่นจดทะเบียนในวันที่ 21 กันยายน 2549 ซึ่งเดิมกำหนดยื่นในวันที่ 20 กันยายน 2549 เนื่องจากเป็นวันรัฐวิสาหกิจไทยแต่ในขณะนั้นได้มีเหตุการณ์ปฏิรูประบอบการปกครอง จึงไม่สามารถยื่นจดทะเบียนในวันที่กำหนดได้
|
|
นายทะเบียนรับจดทะเบียนให้แก่สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย ในวันที่ 16 ตุลาคม 2549 ซึ่งเป็น
|
สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งแรกในประเทศไทยที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย (พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543) และวันที่ 19 ตุลาคม 2549 คณะผู้เริ่มก่อการได้รับมอบทะเบียนจากอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (นายทะเบียน)
|
|
การประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกได้จัดขึ้นในวันที่ 15 ธันวาคม 2549 ที่ศูนย์ควบคุมการบินภูเก็ต บริษัท วิทยุการบิน
|
แห่งประเทศไทย จำกัด อ.ถลาง จ.ภูเก็ต เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการและรับมอบหมายการบริหารจัดการสหพันธ์แรงงานต่อจากผู้เริ่มก่อการ |
|
วัตถุประสงค์
|
|
เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับฝ่ายบริหารภาครัฐ และองค์กรอื่นๆ |
|
เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับฝ่ายบริหารรัฐวิสาหกิจและสมาชิก |
|
เพื่อพิจารณาช่วยเหลือตามคำร้องทุกข์ของสมาชิก |
|
เพื่อคุ้มครองและแสวงหาเกี่ยวกับสภาพการจ้าง และสิทธิประโยชน์อันพึงมีพึงได้ของสมาชิก |
|
เพื่อปกป้องรักษาผลประโยชน์ของรัฐวิสาหกิจ โดยคำนึงผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนโดยส่วนรวม |
|
เพื่อส่งเสริมและจัดการศึกษาให้แก่สมาชิก |
|
เพื่อสนับสนุนและร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ ในการปกป้องและพิทักษ์ผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน |
|
เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข |
|
วิสัยทัศน์
|
“ มุ่งสู่แรงงานสากล เพื่อแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์
เกี่ยวกับสภาพการจ้างของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ ”
|
|
พันธกิจ
|
|
จัดการอบรมการศึกษา และจริยธรรมให้แก่สมาชิก |
|
เชื่อมโยงกระบวนการแรงงานไทยให้เป็นหนึ่งเดียว |
|
ผลักดันสหพันธ์แรงงานให้เป็นตัวแทนเข้าร่วมประชุมใหญ่ประจาปีขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ |
|
ผลักดันผู้แทนให้เป็นตัวแทนเข้าร่วมรับเลือกให้ได้เป็นกรรมการฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ และกรรมการแรงงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง |
|
เป็นที่ปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับสภาพการจ้าง และกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้แก่สหภาพแรงงาน |
|
ให้ความช่วยเหลือในการฟ้องคดีหรือแก้ต่างให้แก่สหภาพแรงงานในการดาเนินคดีทางศาล |